[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนายินดีต้อนรับทุกท่านครับ
เมนูหลัก
เมนูทั่วไป
ข้อมูลการดำเนินงาน
Okvee Bootstrap sidebar menu
ลิ้งเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง
ลิ้งหน่วยงานอื่นๆ
Social Network
QR Code Line
อบต.ตะโละแมะนา
  
ประวัติความเป็นมา  
 

         ตำบลตะโละแมะนา เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี คำว่า“ตะโละแมะนา”     เป็นคำภาษามลายูพื้นเมือง หมายถึง ที่ราบลุ่มของนางแมะนา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีพื้นที่ครอบครองจำนวนหลายสิบไร่ ในสมัยก่อนซึ่งกินเวลาเป็นร้อยปีมาแล้วในอดีต
       ตะโละแมะนา หมายถึง ทุ่งนางนา ตำบลตะโละแมะนา สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม     ทุ่งโล่ง และมีธารน้ำไหล ในฤดูน้ำหลาก มีน้ำท่วมขัง ตั้งอยู่สุดเขตแดนจังหวัดปัตตานี ต่อกับ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากชุมชน เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำจืด มาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่หลังเดียว แยกจากชุมชน เมื่อราษฎรจะออกไปประกอบกิจกรรมการเกษตร หรือจับสัตว์น้ำ จึงบอกต่อกันว่า จะไปตะโละแมะนา จึงเป็นชื่อเรียกสถานที่นี้ต่อมาจนติดปาก เมื่อตั้งเป็นตำบล โดยอาศัยสภาพทั่วไปของพื้นที่ ชื่อตำบลจึงเรียกตามที่ชาวบ้านได้เรียกมาแต่เดิมมา ตำบลตะโละแมะนา มีจำนวนหมู่บ้าน ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
       หมู่ที่ ๑ บ้านลูกไม้ไผ่ หมายถึง ต้นไผ่ที่สามารถออกดอกผลได้ ที่มาของชื่อเล่าสืบต่อกันมาแต่เดิมว่า บ้านลูกไม้ไผ่เดิมมีสภาพเป็นป่ามีต้นไผ่ขึ้นอยู่มากและในคราวหนึ่งต้นไผ่ออกดอกและมีผลสีแดง ผู้พบเห็นจึงเล่าสืบกันมาและเรียกพื้นที่บริเวณป่าไผ่นี้ว่า ลูกไม้ไผ่ ต่อมามีราษฎรชาวไทยพุทธ จากบ้านเมืองยอน ตำบลลุโบะยิไร อำเภอมายอ และราษฎรบ้านควน ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ย้ายมาจับจองที่ทำกิน และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยจนมีสภาพเป็นชุมชนขึ้น เมื่อตั้งหมู่บ้านจึงได้ชื่อหมู่บ้านว่า ลูกไม้ไผ่ ตามที่เรียกสืบกันมา มีกลุ่มบ้านอื่นอีก ชื่อว่า บ้านโคกมุด บ้านขนำใน

       -บ้านโคกมุด (บาโงมาแจ) บาโง แปลว่า เนิน, โคก มาแจ หมายถึง พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งตระกูลเดียวกันกับมะม่วง ภาษาไทยภาคใต้เรียก ลูกมุด ภาษาไทยภาคกลาง เรียก หมากมุด บ้านโคกมุด สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขามีต้นมะมุด (หมากมุด) ขึ้นอยู่ทั่วไป เดิมสภาพเป็นชุมชนก่อน บ้านลูกไม้ไผ่ แต่บ้านเรือนราษฎรต้องอยู่กระจายเป็นไม่เป็นกลุ่มก้อน เมื่อบ้านลูกไม้ไผ่เป็นชุมชนที่ใหญ่กว่าและบ้านเรือนตั้งอยู่เป็นกลุ่ม บ้านโคกมุดจึงกลายเป็นกลุ่มบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน
       - บ้านขำใน (บ้านขนำใน) ขนำ เป็นภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้ หมายถึง ที่พักระหว่างทาง หรือที่พักชั่วคราวขณะปฏิบัติภารกิจการงาน ภาษาไทยกลาง หมายถึง เพิง (เพิงรักริมนา เพิงนา) บ้านขำใน สภาพเดิมเป็นสวนยางพารา ชาวนาในสวนออกมากรีดยางใช้เป็นที่พักชั่วคราวในระหว่างการกรีดยางพารา ต่อมาได้ตั้งบ้านเรือนถาวรอยู่อาศัย แต่ยังใช้ชื่อซึ่งเรียกแต่เดิมมา

       หมู่ที่ ๒ บ้านแลแวะ  แลแวะ หมายถึง ประมาท หรือ สับเพร่า สมัยก่อนมีนักแสดงคล้ายลิเก ตามภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่าโต๊ะลือบา ได้เที่ยว เร่ แสดงตนมาถึงหมู่บ้านนี้ แล้วได้นั่งพักผ่อน ใต้ต้นหว้าใหญ่ โดยเอาหอกที่ติดตัวมาพิงไว้ที่ต้นหว้า แล้วตนเองก็ขึ้นไปนอนร้องเพลงบนต้นหว้า และเกิดพลาดพัดตกลงมา โดยหอกที่พิงไว้แทงตัวเองตาย ใต้ต้นหว้านั้น ชาวบ้านได้ร้องด่าว่า ตะแลแวะ หมายถึง การประมาทเกินเหตุ และต่อมาชาวบ้านจึงเรียก ตะแลแวะ เพี้ยนมาเป็น แลแวะ ในปัจจุบัน บ้านแลแวะยังมีกลุ่มบ้านอื่น ๆ อีกดังนี้
       -บ้านกูโนะ ความหมาย ตามภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึง ควายเขาหลุบ
       -บ้านบาโงกูแจ ความหมาย ตามภาษามลายูท้องถิ่น หมายถึง บ้านต้นเม่า เพราะเป็นบริเวณที่ต้นเม่าขึ้นเยอะ
       -บ้านปูลาจูมา หมายถึง บ้านเนินสวย เพราะที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นเนิน เดิมชาวบ้านเรียกว่า   ปูลาจอแม หมายถึง บ้านเนินสวย ภายหลังเพี้ยนมาเป็นปูลาจูมา
       หมู่ที่ ๓ บ้านตะโละแมะนา หมายถึง พื้นที่ราบลุ่ม ทุ่งโล่ง เป็นชื่อที่ราบลุ่มของนางแมะนา
ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ประวัติและความเป็นมา และความหมายเหมือนชื่อตำบล
       หมู่ที่ ๔ บ้านตะโละนิบง หมายถึง ทุ่งชะโอน บริเวณที่ตั้ง ของหมู่บ้านมีต้นชะโอนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกตามชื่อต้นชะโอน ว่า บ้านตะโละนิบง
       ตำบลตะโละแมะนาเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการในอำเภอทุ่งยางแดงทุกหน่วยงานราชการตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1,ที่ทำการอำเภอทุ่งยางแดง, และส่วนราชการต่าง ๆ อีกมากมาย ส่วนหมู่ที่ ๒ บ้านแลแวะ เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา